วันอังคารที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2558

เทคนิคการให้อาหารปลาทะเล




เทคนิคการให้อาหารปลาทะเล 

       
    อาหาร เป็นปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้ปลาทะเลเจริญเติบโต มีสีสันสดใส ผู้เลี้ยงปลาทะเลส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจกันมากนัก ต่อไปนี้คือเทคนิคในการให้อาหารปลาทะเล ที่จะทำให้ปลาทะเลของคุณแข็งแรง สวยงามและ ปราศจากโรคต่างๆ



จำนวนมื้อของปลาทะเล

           ปลาทะเลควรจะกินอาหารวันละ 1-2 มื้อเท่านั้น ไม่ควรให้มากกว่านี้ เนื่องจากตามธรรมชาติของปลาทะเลนั้นจะหา อาหารเอง บางครั้งถึงหาไม่ได้ ก็ไม่ได้กินอะไรยังสามารถมีชีวิตอยู่ได้

ปริมาณอาหารในแต่ละมื้อ

           ปริมาณอาหารนั้นควรให้ในปริมาณที่เหมาะสม เพียงพอกับขนาดตัวและชนิดของปลาทะเลนั้นๆ ไม่ควรให้เยอะหรือบ่อยจนเกินไป เพราะอาหารที่เหลือ อาจทำให้น้ำเน่าได้ ซึ่งทำให้น้ำสกปรกและเกิดโรคกับปลาได้ 

การควบคุมเวลาในการให้อาหาร

            การให้อาหารปลาทะเล ควรหัดให้กินอาหารเป็นเวลา ไม่ใช่ให้กินพร่ำเพรื่อตลอดเวลา ควรมีเวลาที่แน่นอนในการให้อาหาร จะได้สะดวกกับคนเลี้ยง
ควรให้ปลาทะเลออกกำลังกายบ้าง

            การให้อาหารสดแก่ปลาทะเล เช่น ไรทำเล หนอนแดงสด บ้างซึ่งจะทำให้ปลาทะเลว่ายไล่กินอาหารเป็นการออกกำลังแต่ปลาทะเลอีกทั้งคนเลี้ยงยังได้นั่งดูปลาทะเลแหวกว่ายไปในตู้ ซึ่งทำให้เห็นความสวยงามของปลา แต่การให้อาหารสดนั้น ควรเลือกอาหารที่มีความสะอาดด้วย

ปลาทะเลสวยงาม




     ปลาทะเลสวยงาม




ปลาตระกูลแดมเซล 
  ปลาชนิดนี้ส่วนมากจะมีสีน้ำเงินที่เราพบเห็นตามท้องตลาด มีหลากหลายชนิดทั้ง
  แดมเซลหางเหลือง,บลูแดมเซล,เลมอนแดมเซล รวมถึงปลาโดมิโน ซึ่งมีสีดำ
  และมีจุดเล็กๆ สีขาว จุดบนตัว และปลาม้าลายที่มีลายขาวสลับดำบนลำตัว





ปลาตระกูล dottyback ( ระดับความยากในเลี้ยง : 8.5 )
  เป็นปลาตัวเล็กที่มีสีสันฉูดฉาด ที่พบมากได้แก่ ปลาสตอเบอรี่ ปลาแพคคาเนลล่า 
  ( หวานเย็น ) ปลาไดเดรียม่า ปลารอยอลแกรมม่า ซึ่งเป็นปลาที่มีสีชมพูทั้งตัว อาจมีสีเหลือง
  สลับครึ่งบน ครึ่งล่างแล้วแต่ชนิด




ไฟร์ฟิช ระดับความยากในการเลี้ยง : 8 )
  เป็นปลาตระกูลโกบี้ ลำตัวยาว มีครีบหลังยาวเป็นเอกลักษณ์ สำหรับอีกชนิดหนึ่งที่พบบ่อยคือ
  Purple firefish ซึ่งมีราคาแพงกว่าเล็กน้อย


ปลาคาร์ดินัล ( ระดับความง่ายในการเลี้ยง : 7.5 )
  ส่วนมากที่พบคือ ปลาคาร์ดินัลลองฟิน ที่มีลายขาวสลับดำและ ปลาคาร์ดินัลตาแดง ซึ่ง
  เป็นปลาที่ชอบลอยนิ่งๆอยู่กับที่ ไม่ค่อยว่ายน้ำไปไหน มีลักษณะตาโต สีสันสวยงาม



ปลาตระกูล Wrasse ( ระดับความยากในการเลี้ยง : 8 )
  สำหรับปลาตระกูลนี้บางชนิดก็เลี้ยงยาก เช่น ปลาพยาบาล มีเพียงบางชนิดเท่านั้นที่เลี้ยง
  ง่าย เช่น Sixline wrasse, ปลากัดทะเล แก้วเหลือง แก้วแดง เป็นต้น ซึ่งเวลานอน
  อาจจะมุดทราย หรือ สร้างเมือกขึ้นมาห่อหุ้มตัวเอง



ปลาสิงโต ระดับความง่ายในการเลี้ยง : 8.5 )
  เป็นปลาที่มีรูปร่างสวยงามมาก โดดเด่นและสะดุดตา ปลาสิงโตนี้มีหลายพันธุ์แตกต่าง
  กันไป ซึ่งเป็นปลาที่แปลกและหาได้ไม่ยาก



ปลาการ์ตูน ( ระดับความง่ายในการเลี้ยง : 8.5 )
  เป็นปลาที่นิยมมากที่สุด มีหลายสายพันธุ์ เช่น ปลาการ์ตูนลายปล้อง ปลาการ์ตูนแดง
  ปลาการ์ตูนอินเดียนแดง ปลาการ์ตูนมะเขือเทศ เป็นต้น แต่ที่นิยมเลี้ยงส่วนมาก คือ 
  ปลาการ์ตูนส้ม จากการ์ตูนดัง นีโม เนื่องจากเป็นที่คุ้นตามากกว่า ซึ่งปลาการ์ตูนเป็นปลา
  ที่มีลักษณะเฉพาะคือว่ายน้ำบิดไป-มา ทำให้ดูน่ารักเป็นพิเศษ และสามารถเลี้ยงได้
  โดยไม่จำเป็นต้องมีดอกไม้ทะเล ( Anemone ) ซึ่งต้องใช้ไฟจัดในการเลี้ยงเท่านั้น
  ( ไฟ MH หรือหลอดฟลูออเรสเซนต์ หลอดขึ้นไป )



ปลาตระกูลโกบี้ ระดับความง่ายในการเลี้ยง : 8.5 )
  เป็นปลาที่มีหลายสายพันธุ์มากที่เห็นบ่อยได้แก่ แก้วปะการัง, Two spot goby ,
  โกบี้บิน โกบี้ขาว เป็นต้น



ปลาตระกูลแทงค( ระดับความง่ายในการเลี้ยง : 7เป็นปลาที่มีห
ลายพันธุ์ เช่น Blue tang ,ellow tang ,Purple tang เป็นต้น สำหรับ
  ปลาที่แนะนำสำหรับมือใหม่ได้แก่ Brown tang , Baby tang เป็นปลาที่กินเยอะและ
  ถ่ายของเสียเยอะ ชอบว่ายน้ำ

อุปกรณ์ที่สำคัญสำหรับการเลี้ยงปลาทะเล



อุปกรณ์ที่สำคัญสำหรับการเลี้ยงปลาทะเล



1.ตู้ปลา
ควรเป็นตู้โล่ง หรือตู้มีด้านกรองข้างเต็ม ควรมีขนาดขั้นต่ำ 24 นิ้ว เป็นอย่างต่ำ ขนาด เพราะว่าปลาตามหลักธรรมชาติเเล้ว ปลาเเต่ละตัวจะมีอาณาเขตโดยรอบรัศมี 1 ตัวต่อ 10-20เมตรตามเขตประการังน้ำตื้น ถ้าจะให้ดีควรเลี้ยงตู้ 36 เป็นตู้ที่มาตรฐานขนาดความหนาควรขั้นต่ำประมาณ 2หุน เป็นอย่างน้อยที่สุด


2.ตู้กรองล่าง
ควรเป็นตู้ที่ทำมาโดยฌฉพาะสำหรับกรอง โดยเเบ่งเป็น3ช่องกระจกเป็นอย่างน้อย
ช่องเเรกเอาไว้ใส่ปั๊ม ช่องที่2ใส่เศษประการัง ช่องที่3 ใส่สกิมเมอรืเเล้วก็สามารใส่สาหร่ายเพือ่ช่วยลดเเอมโมเนีย เเละค่าในเตรทในตู้ได

3.ปั๊มน้ำ 
ช่วยเพิ่มอ๊อกซิเจนในน้ำ และช่วยกำจัดแอมโมเนีย ช่วยทำให้ระบบน้ำหมุนเวียนในตู้

4. เครื่องวัดความหนาแน่นหรือความเค็มของน้ำ 
   เป็นตัววัดความเค็ม ช่วยให้เรารู้ว่าน้ำทะเลที่เราเลี้ยงอยู่มีความเค็มเท่าไร เพื่อง่ายต่อการเลี้ยง เริ่มต้นจากราคา 120จนถึงหลักพันมีหลายเเบบเช่น


    4.1ที่วัดความเค้มเเบบปรอท
ซึ่งราคาถูกที่สุดเลยก็ว่าได้ เเต่ความเสถียนไม่ค่อยจะดีซักเท่าไหร่ เเต่ก็ใช้ได้

    4.2 ที่วัดความเค็มเเบบตวง
อันนี้ก็ไม่ถือว่าสเถียนนะครับ เเต่ก็พอใช้ได้ครับ